วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตรรกกับซอฟต์แวร์และตรรกกับฮาร์ดแวร์

ตรรกกับซอฟต์แวร์
การนำตรรกะมาใช้กับการเขียนโปรแกรม ใช้สำหรับกรณีที่ต้องการให้การทำงานของโปรแกรมเลือกทำงานตามที่ต้องการ หรือทำงานให้เหมาะสมกับข้อมูลในขณะนั้น ข้อมูลตรรกะจะใช้เป็นเงื่อนไขที่ใช้ในการตรวจสอบว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ เพื่อนำไปใช้สำหรับเลือกลักษณะการทำงานของซอฟต์แวร์ ลักษณะการนำตรรกะไปใช้งานร่วมกับการเขียนโปรแกรมสามารถแสดงได้ดังนี้

แสดงการใช้งานนิพจน์ทางตรรกศาสตร์สำหรับการทำงานแบบเลือกทำ
เป็นการนำตรรกะไปใช้ร่วม กับซอฟต์แวร์สำหรับการเลือกทำงาน โดยใช้ตรรกะเป็นเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตรวจสอบการเลือกทำ ถ้าผลที่ได้จากการกระทำทางตรรกะเป็นจริงจะเลือกทำงานอย่างหนึ่ง แต่ถ้าผลที่ได้จากการกระทำทางตรรกะเป็นเท็จจะเลือกทำงานในอีกลักษณะหนึ่ง

แสดงการใช้นิพจน์ทางตรรกศาสตร์สำหรับการทำงานแบบทำซ้ำ เป็นการนำตรรกะไปใช้ร่วมกับ ซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานแบบทำซ้ำโดยใช้ตรรกะเป็นเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตรวจสอบการทำซ้ำ การทำงานจะมี 2 ลักษณะ คือ ทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนการทำซ้ำ และอีกกรณีหนึ่ง คือ ทำการทำซ้ำก่อนแล้วจึงค่อยทำการตรวจสอบเงื่อนไข

ตรรกกับฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์เป็นลักษณะของวงจรดิจิทัล (Digital Circuit) การทำงานของระบบดิจิทัลมีลักษณะการทำงานอยู่ 2 สถานะ คือ เปิดและปิด การทำงานจึงสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 โดนแทนเลข 1 ด้วยสถานะเปิดแทนเลข 0 ด้วยสถานะปิด นอกจากนั้นยังสัมพันธ์กับทางตรรกศาสตร์ โดยเซตของคำตอบข้อมูลตรรกศาสตร์มี 2 ค่า คือ เป็นจริงและเป็นเท็จ

ตรรกกับซอฟต์แวร์และตรรกกับฮาร์ดแวร์

ตรรกกับซอฟต์แวร์
การนำตรรกะมาใช้กับการเขียนโปรแกรม ใช้สำหรับกรณีที่ต้องการให้การทำงานของโปรแกรมเลือกทำงานตามที่ต้องการ หรือทำงานให้เหมาะสมกับข้อมูลในขณะนั้น ข้อมูลตรรกะจะใช้เป็นเงื่อนไขที่ใช้ในการตรวจสอบว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ เพื่อนำไปใช้สำหรับเลือกลักษณะการทำงานของซอฟต์แวร์ ลักษณะการนำตรรกะไปใช้งานร่วมกับการเขียนโปรแกรมสามารถแสดงได้ดังนี้

แสดงการใช้งานนิพจน์ทางตรรกศาสตร์สำหรับการทำงานแบบเลือกทำ
เป็นการนำตรรกะไปใช้ร่วม กับซอฟต์แวร์สำหรับการเลือกทำงาน โดยใช้ตรรกะเป็นเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตรวจสอบการเลือกทำ ถ้าผลที่ได้จากการกระทำทางตรรกะเป็นจริงจะเลือกทำงานอย่างหนึ่ง แต่ถ้าผลที่ได้จากการกระทำทางตรรกะเป็นเท็จจะเลือกทำงานในอีกลักษณะหนึ่ง

แสดงการใช้นิพจน์ทางตรรกศาสตร์สำหรับการทำงานแบบทำซ้ำ เป็นการนำตรรกะไปใช้ร่วมกับ ซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานแบบทำซ้ำโดยใช้ตรรกะเป็นเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตรวจสอบการทำซ้ำ การทำงานจะมี 2 ลักษณะ คือ ทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนการทำซ้ำ และอีกกรณีหนึ่ง คือ ทำการทำซ้ำก่อนแล้วจึงค่อยทำการตรวจสอบเงื่อนไข

ตรรกกับฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์เป็นลักษณะของวงจรดิจิทัล (Digital Circuit) การทำงานของระบบดิจิทัลมีลักษณะการทำงานอยู่ 2 สถานะ คือ เปิดและปิด การทำงานจึงสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 โดนแทนเลข 1 ด้วยสถานะเปิดแทนเลข 0 ด้วยสถานะปิด นอกจากนั้นยังสัมพันธ์กับทางตรรกศาสตร์ โดยเซตของคำตอบข้อมูลตรรกศาสตร์มี 2 ค่า คือ เป็นจริงและเป็นเท็จ